1.อาราเบียน The Arab, Arabian Horse
เอื้อเฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ สูงประมาณ 153 ซม. จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก จ.กาญจนบุรี
ม้าอาหรับมีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนดังนี้คือ
1.มีหน้าแหลมคล้ายจิ้งจก จมูกเชิดงอนขึ้น และมีคางเป็นสันกลมสังเกตได้ชัดตามภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Dished Face และข้อนี้ก็จัดว่าเป็นลักษณะเด่นของม้าไทย
2.โคนหางจะยกขึ้นเวลาวิ่งเนื่องจากมีกระดูกโคนหางน้อยกว่าสายอื่น 2 ชิ้น
3.จังหวะวิ่งมีจังหวะที่ขาลอยจากพื้นพร้อมกันทั้งสี่ขา (Floating Gaits) ทำให้เวลาขี่สามารถลดแรงกระแทกช่วยผ่อนแรงผู้ขี่ได้อย่างมากมาย ม้าสายพันธุ์นี้มีส่วนสูงอย่างมากไม่เกิน 15.2 แฮนด์ (155-156 ซม. ) แต่ที่พบมากจะมีส่วนสูงประมาณ 15 แฮนด์ (153 ซม.)
4.ลำคอเรียวโค้งยาวเป็นรูปคอหงส์ แต่ลักษณะนี้ไม่เน้นมากนัก เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่าเป็นลักษณะของลำคอที่มาจากม้าพันธุ์ เธอโรเบรต
ภาพพ่อม้าอาหรับชื่อ พญาเย็น เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณธวัชแห่งสินไพบูลย์ฟาร์ม ต. สระกระโจม อ. ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี
ข้อมูลทางกายภาพ
1. ม้าอาหรับมีซี่โครง17ซี่ (ม้าพันธุ์อื่นมี 18ซี่)
2. ม้าอาหรับมีกระดูกเชิงกราน( Lumbar Vertebrate ) 5 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 6ชิ้น)
3. ม้าอาหรับมีกระดูกหาง 16 ชิ้น (ม้าพันธุ์อื่นมี 18 ชิ้น) ดังนั้น จึงต้องยกหางเวลาวิ่งเพื่อลดน้ำหนักไปในตัว
ในประเทศไทยพบว่าม้าสายพันธุ์นี้มีผู้นำเข้ามาน้อยมาก แต่ก็ยังพอมีอยู่บ้างแถบจังหวัดภาคกลางและโคราช ผู้สนใจลองหาแม่ม้าไทยลักษณะดีๆอย่างในภาพค่อยๆผสมยกสายเลือดกับพ่อพันธุ์ดีๆ สักสามรุ่นก็น่าจะได้ลูกงามๆสักตัว
ข้อดีของม้าพันธุ์นี้คือ แม้ว่าจะนำแม่ม้าสายพันธุ์อื่นมาผสมกับพ่อม้าพันธุ์อาหรับ ก็สามารถที่จะขึ้นทะเบียนเป็นม้าพันธุ์ “Half Arabian” ได้โดยไม่ผิดกติกาใดๆ
ข้อด้อยที่เห็นได้ชัดของม้าพันธุ์อาหรับคือ เป็นม้า Hot Blood นั่นหมายถึงเขาจะมีความคึกคักมากและตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้ที่จะใช้ม้าสำหรับงานหนัก เช่น การแข่งเอ็นดูร๊านซ์ (Endurance Horse Racing) แต่หากต้องการม้าที่นิ่งสงบเรียบร้อยก็ควรหลีกเลี่ยงไปหาม้าสายพันธุ์อื่นจะเหมาะสมกว่า
2. เธอร์รัพเบรต (Thoroughbred)
ม้าพันธุ์เธอร์รัพเบรต หรือต่อไปจะขอเรียกว่า Tb เนื่องจากเป็นการอนุโลมให้เรียกตามสากล คำคำนี้โดยความหมายก็อาจจะแปลได้ว่า เป็นม้าที่เป็นผลจากการผสมกันของม้าพื้นเมืองทั่วๆ ไป โดยไม่ใช่การสืบสายเลือดมาจากสายพันธุ์แท้ หรือไม่สามารถนับได้ว่าเป็นสายพันธ์แท้ ( Purebred ) แต่หากดูจากโครงสร้างแล้วจะพบว่า ม้า TB เป็นผลผลิตของม้าเลือดร้อนหรือม้าอาหรับ ผสมกับม้าเลือดเย็นแถวๆ อังกฤษ เช่นพวก Draft Horse หรือม้าใช้งานในฟาร์มที่มีส่วนสูงถึง 18 แฮนด์ ดังนั้นม้า TB จึงมีรูปร่างเพรียวสูงใหญ่แต่มีขาเรียวเล็ก ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีในนามของม้าแข่ง ลักษณะเด่นของม้า Tb คือ สูง เพรียว แข้งขายาว ส่วนสูงที่วัดได้ถึงตะโหนกประมาณ 15.2 -17 แฮนด์ สีที่พบเห็นส่วนใหญ่จะเป็นสีเดียว เช่น สี Bay , Brown ,Chestnut หรือสี Grey และสีที่พบน้อยคือ สี Roan สีพาโลมิโน และ สีขาวแบบ White เป็นม้าที่จัดว่าเป็นสายเลือดร้อน หรือ Hot Blood ประเทศแหล่งกำเนิดคือประเทศอังกฤษ ประโยชน์ใช้สอยคือ ใช้แข่ง ขี่ข้ามสิ่งกีดขวาง เดรสสาจ และเป็นพ่อม้าที่ใช้ปรับปรุงพันธุ์ม้าพื้นเมือง (Upgrade)
ม้า Tb ที่นำมาเป็นม้าแข่งนั้นได้มีการถกเถียงกันในวงกว้างว่าอาจเป็นการทรมานสัตว์ เนื่องจากผู้เลี้ยงม้าแข่งจะนำลูกม้าที่มีอายุเพียงสองปี ซึ่งจัดว่ายังไม่โตเต็มที่เข้าแข่งขัน เนื่องจากม้า Tb มีหัวใจและกีบที่เล็กมาก เมื่อเทียบกับลำตัว และอัตราการรับน้ำหนักขณะใช้ความเร็วสูง จึงทำให้การแข่งขันบางครั้งจึงมีอันตรายต่อทั้งม้าและคน
3.ม้าด่าง The Paint Horse
ข้อแตกต่างระหว่างม้า Pinto และ Paint Horse นั้น คือ ม้าปินโตคือด่างทุกสายพันธุ์ที่มีรอยด่างเกิดขึ้นบนตัว ส่วนม้า Paint Horse จะต้องเป็นม้าที่มีสายเลือด ควอเตอร์ เธอรัพเบรต ที่ขึ้นทะเบียนมาแล้ว (ในอเมริกา) ดังนั้นเราจึงถือว่า ม้า Paint Horse ทุกตัวเป็น Pinto แต่ไม่ใช่ Pinto ทุกตัวเป็น Paint Horse แต่สำหรับประเทศไทย ไทยโพนี่ได้ให้คำนิยามไว้ใช้เพื่อพลางดังนี้
ม้าด่าง : Paint Horse คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน ที่มีเชื้อสายที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
ม้าแฟนซีหรือม้าปินโต : Pinto Horse คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.
การแบ่งประเภทของม้าด่างตามหลักการของอเมริกัน
Tobiano
ม้าด่างแบบโทบิยาโน ปกติจะมีสีเข้มพาดที่บริเวณหน้าอกลงถึงโคนขา หรือเอวถึงโคนขาหลัง อาจจะเป็นไปได้ที่บริเวณขาหน้า หรือขาหลัง หรืออาจะมีทั้งสองขา ขาทั้งสี่ข้างต้องเป็นสีขาว หรืออย่างน้อยตั้งแต่เข่าลงไปต้องเป็นสีขาว ปกติรอยด่างเข้มมักเป็นรูปวงรี หรือกลม ที่พาดผ่านคอและหน้าอก ทำให้ดูคล้ายใส่เกราะ
บริเวณหน้าอาจเป็นสีเดียว หน้าลาดใหญ่ หน้าจุด สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้ หางมักมีสองสี
ภาพพ่อม้าคูล ขณะอยู่ที่ ม.เกษตรกำแพงแสน เอื้อเฟื้อภาพโดยคุณเบียร์
Overo
อ่านออกเสียงว่า โอแฟ๊โร่
โอแฟ้โร่จะมีลักษณะเด่นคือสีขาวจะไม่ตัดผ่านหลังม้าที่บริเวณตะโหนกม้าและที่หาง
โดยทั่วไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีขาหนึ่ง หรือทั้งสี่ขาเป็นสีดำหรือเข้ม
ส่วนใหญ่สีขาวจะเป็นสีข้างน้อย และกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ และมักมีหน้าลาดยาวจรดจมูก หรือน้อยกว่านั้นก็ไม่เป็นไร
สีที่เด่นเป็นได้ทั้งสีเข้มและสีขาว หมายถึงสีอะไรมากกว่าก็ได้
หางมักมีสีเดียว
ภาพพ่อม้าโกลด์โนเบิลเอื้อเฟื้อภาพโดยคุณหนึ่ง กำแพงแสน
Tovero
(pronounced: tow vair' oh)
โทแฟ๊โร่
บริเวณหูมีสีดำ บางทีอาจจะลามไปถึงหน้าผากและตาทั้งสองข้าง โดยลูกนัยน์ตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจะเป็นสีฟ้า
ปากมีสีคล้ำหรือดำ และบางทีอาจลามไปถึงแก้มเป็นวง
มีจุดหรือรอยด่างใหญ่หรือเล็กบริเวณหน้าอก หากใหญ่มากอาจลามถึงคอ และมีรอยด่างอีกจุดที่บริเวณท้องมาถึงเอว และอาจลามลงบริเวณหน้าขาหลัง
รอยด่างดังกล่าวอาจเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด
และมีจุดหรือรอยด่างอีกแห่ง บริเวณโคนหาง
[img=ม้าด่าง The Paint Horse]http://upic.me/i/gy/0untitled-6.jpg[/img]
ภาพพ่อม้าแจร์มิโน เอื้อเฟื้อภาพจากฟาร์มอรณัช วังน้ำเขียว
4.ม้าพันธุ์ลิปิซานเนอร์ The Lipizzaner
the Lipizzaners in Thailand
1. แรกเกิดสีดำ หรือออกเทาๆ โตขึ้นสีจางลงและเปลี่ยนเป็นขาวในที่สุด หางและขนแผงคอสีขาว
2. หูเล็ก ตากลมโต คอสั้นหนา รูปร่างกำยำล่ำสัน เป็นมิตรกับคนง่าย ตัวผู้สูง 155-160 ซม. ตัวเมียสูงประมาณ 140-150 ซม.ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้
1
3. กีบแข็งแรงทนทาน มีสีขาวหรือดำ ไม่ค่อยพบปัญหาเรื่องโรคกีบ
4. ใช้เป็นม้าโชว์ ม้าขี่เล่น ม้าสวยงาม
5. ม้าที่มีสายเลือดลิปิซานเนอร์แต่ไม่ใช่ Pure Breds จะเรียกว่า Part Breds, Part Lipizzaners
6. เป็นม้าที่เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าม้าสายอื่นๆ ที่โดยปกติจะใช้เวลา 3 ปี แต่ลิปิซานเนอร์จะใช้เวลา 4- 5 ปี จึงจะเริ่มเป็นหนุ่มหรือสาว เนื่องจากโครงสร้างใหญ่กว่าม้าปกติ
การที่พูดถึงลิปิซานเนอร์โดยไม่กล่าวถึงที่ประเทศออสเตรีย เห็นที่จะแปลกประหลาด เหมือนมาเมืองไทยไม่ได้ดูช้าง ผู้สนใจค้นคว้าสามารถหาดูได้ที่ Piber.com ที่นี่คือเมืองไพเบอร์ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยเขาจะมีประวัติท้าวความเรื่องของม้าสายพันธุ์นี้ที่ถูกย้ายไปโยกมาตั้งแต่ยุดจักรวรรดิ ออสโตร - ฮังการเรี่ยน เรืองอำนาจ และสุดท้ายการนำม้ากลับมาที่เมืองไพเบอร์ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดก็เพิ่งกระทำในประมาณปี 2005 นี่เอง ในโอกาสนี้เขาเลยถือโอกาสผนวกรวมโรงเรียนสอนขี่ม้า Spanish Riding School ที่ลือลั่น เข้ากับแหล่งเพาะพันธุ์ม้า The Piber Stud ที่เกรียงไกร สำหรับที่นี่ หากท่านสนใจจะเพาะม้าสายพันธุ์นี้ เขามีทั้งพ่อม้าจำหน่าย Stallions Listed for Sale โดยมีราคาตั้งแต่ 3000-4000 ปอนด์ (คิดเป็นเงินไทยไม่รวมภาษีก็ประมาณ 200,000- 300,000 บาท หากรวมภาษีนำเข้าก็ประมาณ 500,000 นอกจากนี้เขายังมีแม่ม้าที่ฝึกแล้วหรือยังไม่ฝึก (ฝึกเบื้องต้นเรียกว่า Broken) ราคาประมาณ 3000-5000 ปอนด์ ม้าตอนฝึกแล้วพร้อมใช้งานก็มีครับ
ที่สำคัญคือเขาจะมีประวัติสายพันธุ์ (Ped Degree) ให้ท่านคลิกเข้าตรวจสอบได้ก่อน หากไม่พอใจก็ไม่ต้องซื้ออีก เด็ดจริงๆ
ม้าลิปิซานเนอร์มีเอกลักษณ์อีกอย่างที่สังเกตุเห็นได้โดยง่ายคือ การมีสันจมูกโค้งลงหาพื้นดิน กลับทางกับม้าสายอาหรับที่มีสันจมูกเชิดงอนขึ้น และเนื่องจากม้าพันธุ์นี้ทั่วโลกมีเหลือแค่ประมาณ 3,000 ตัว จึงได้ขึ้นทะเบียนไซเตสเป็นสัตว์อนุรักษ์ไว้ สำหรับในเมืองไทย หากใครต้องการผสมพันธุ์ก็สามารถหาพ่อพันธุ์ได้จากตามแหล่งต่างๆ ดังนี้
1. พ่อม้ามิลเลอร์ของ ภูผาหมอก โคราช (ตัวในรูป)
2. พ่อม้า Milky Way ของคุณต๋อ คอกม้าธาราโชติ ที่ จ.ระยอง
3. พ่อม้าตัวที่สวยที่สุดในประเทศไทยของคุณชำนาญ อยู่ที่ จ. เชียงใหม่
4. พ่อม้าของคุณเอ็ดดี้ ปัจจุบันอยู่ที่ชัยนาท ตัวนี้เป็นพ่อลิปิซานเนอร์สายเลือดใหม่ที่น่าจะมาแรงที่สุด
5.ม้าพันธุ์ควอเตอร์หรือ ควอเตอร์ฮอร์ส หรืออเมริกันควอเตอร์ฮอร์ส
เป็นม้าที่มีชื่อเรียกตามลักษณะการแข่งระยะทางประมาณ ¼ ไมล์ ซึ่งเป็นระยะที่ม้าประเภทนี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุด สถิติที่บันทึกเอาไว้ว่ากันว่าสามารถทำความเร็วได้ถึง 55 ไมล์ต่อชั่วโมง (เกือบ 90 กม.ต่อ ชม.) ม้าพันธุ์นี้จัดเป็นม้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอเมริกาจนยุคปัจจุบัน และมีจำนวนม้าสายพันธุ์นี้ทั่วโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้มากกว่า 5 ล้านตัว
ลักษณะเด่นของม้าพันธุ์นี้คือ ล่ำสันบึกบึน สูงประมาณ 150-155 ซม. คอสั้น หน้าอกกว้างกำยำ สะโพกกลมบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดอันมหาศาลของพละกำลัง เชื่อง เมื่อฝึกดีแล้วจะสงบนิ่งมาก เหมาะสำหรับ การขี่เล่นเพื่อสันทนาการ เช่น การขี่ข้ามภูมิประเทศ การขี่ม้าอ้อมถังเบียร์ หรือในการขี่ม้าจับลูกวัวของคนอเมริกัน
ม้าพันธุ์ แอพพะลูซ่า
เป็นม้าสายพันธุ์ย่อยของอเมริกันควอเตอร์ฮอร์ส ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่ลวดลายบนร่างกาย โดยสามารถแยกย่อยประเภทของลายจุดได้อีกหลายรูปแบบ ได้แก่
1.แบลงเก็ต (Blanket) จะพบลวดลายสีขาวบริเวณสะโพก ตัดกับสีเข้มบนลำตัว
[img=แอพพาลูซ่า แอพพะลูซ่า ม้าพันธุ์ แบลงเก็ต (Blanket)]http://upic.me/i/s1/twentyvision.jpg[/img]
ภาพม้าแชมป์โลก TWENTY TWENTY VISION พ่อของ โลนสตาร์ ม้าพ่อพันธุ์นำเข้าจากอเมริกาซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ ชิลล์ลม ฮอร์ส รีสอร์ท บางเลน นครปฐม
2.ลิโอพาร์ด (Leopard) ม้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับลายจุดสีเข้มทั่วร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้า บนลำตัวสีขาวบริสุทธิ์
[img=แอพพาลูซ่า แอพพะลูซ่า ม้าพันธุ์ ลิโอพาร์ด (Leopard)]http://upic.me/i/l2/img_8409.jpg[/img]
ภาพม้าพ่อพันธุ์ ฟ๊อกซี่ ปริ๊นซ์ ณ ชิลล์ลม ฮอร์ส รีสอร์ท บางเลน นครปฐม
6.ม้าแคระ Miniature horse
ม้าแคระหรือที่คนไทยใช้ศัพท์เรียกอย่างไม่ถูกต้องมาช้านานว่า Pony คือม้าแคระ แต่จริงๆแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะคำว่าม้าแคระที่ตรงๆน่าจะใช้คำว่า Miniature Horse ซึ่งระยะหลังหลังจากที่ไทยโพนี่ได้เริ่มรณรงค์การให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคนรักม้าระดับรากหญ้าในระยะหนึ่ง ก็ได้พบว่าเริ่มมีคนเข้าใจแล้วว่า ม้าโพนี่จริงๆ แล้วมีส่วนสูงได้ถึง 140-145 ซม. หรือในระดับที่ผู้ชายไซส์มาตรฐานเอเชียขี่ได้สบายๆ อีกประการหนึ่งคือ ม้าที่เรียกว่าโพนี่นั้น เหมาะที่จะใช้สำหรับขี่เล่น หรือเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินยามได้ดูม้าเล็มหญ้า หากเป็นคอคนรักม้าจริงๆ แล้ว แค่นั่งมองม้าก็นั่งได้ทั้งวัน มิมีเบื่อ
วันนี้จึงขอเสนอม้าแคระมาให้ท่านได้รู้กัน อีกแล้วครับ นั่นคือเอามาจาก วิกีพีเดียเหมือนเดิม (www.wikipedia.org) ม้าแคระนั้น การที่จะบอกว่าม้าแคระจริงหรือไม่ก็ต้องดูที่ส่วนสูง โดยเขาจะกำหนดให้มีความสูงไม่เกิน 82-91 ซม. คือหากจะว่าโดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดเล็กกว่าม้าไทยเสียอีก เพราะว่าม้าไทยตัวเมียโดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 115-120 ซม. และตัวผู้จะสูงประมาณ 125-130 ซม. และหากท่านสมาชิกต้องการเพาะพันธุ์ม้าแคระในเมืองไทยผมก็แนะนำว่าควรจะเริ่มจากตัวที่มีส่วนสูงไม่เกิน 100 ซม.
(เอื้อเฟื้อภาพจาก wigipedia.org)
ประโยชน์ของม้าแคระโดยทั่วไปจะใช้สำหรับช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เช่น ใช้จูง แทนสุนัข การเลี้ยงดูก็ง่าย เพราะว่ามีคุณสมบัติเหมือนม้าทุกประการ แต่ก็ต้องปล่อยให้เขาอยู่ในสนามหญ้าเป็นครั้งคราว และม้าแคระเหล่านี้จะมีอายุยืนมากกว่าม้าทั่วไป โดยมีอายุเฉลี่ย 25-35 ปี
ปัจจุบันที่อเมริกา มีการขึ้นทะเบียนอยู่สองสำนัก สำนักแรกคือ สมาพันธุ์ม้าแคระแห่งอเมริกา American Miniature Horse Association (AMHA) และอีกสำนักคือ สำนักทะเบียนม้าแคระแห่งอเมริกา the American Miniature Horse Registry (AMHR).
สำนัก AMHA คือสำนักที่ตั้งไว้จดทะเบียนม้าแคระในปี ค.ศ.1978 โดยสำนักนี้จะเป็นการขึ้นทะเบียนม้าแคระที่มีลักษณะของ “ ม้าใหญ่ย่อส่วน “ โดยกล่าวกันว่าหากดูรูปม้าของค่ายนี้โดยไม่บอกส่วนสูงก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างว่าเป็นม้าใหญ่หรือม้าแคระ สำนักนี้กำหนดส่วนสูงของม้าต้องไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม.
สำนัก AMHR เป็นสำนักที่ใช้ขึ้นทะเบียนม้าแคระสายพันธุ์ อเมริกันเช็ดแลนด์ American Shetland ก่อตั้งเมื่อปี 1972 สำนักนี้แบ่งม้าออกเป็น 2 ดิวิชั่น ดิวิชันแรก (A) คือม้าที่มีส่วนสูงไม่เกิน 34 นิ้วหรือ 82 ซม. อีกดิวิชั่น (B) คือม้าที่สูงระหว่าง 34-38 นิ้ว หรือ 82 - 91 ซม.
7.ม้าพันธุ์โฮลสไตน์ (The Holsteiner)
ม้าพันธุ์นี้กับม้าฮาโนเวอร์เลี่ยนถือว่าชิดกันมาก เชื่อกันว่ากำเนิดที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่แคว้น เชสวิก โฮลสไตน์ (Schleswig-Holstein) รูปร่างสูงใหญ่สง่างาม ส่วนสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 165-175 ซม. เป็นม้าที่โตจนเรียกว่าเป็นน้องๆ ช้างได้ทีเดียว (รองๆจากพวกม้างานหรือ Draft Horse ที่โตได้ถึง กว่า 180 ซม.) ม้าสายพันธุ์นี้สามารถหาประวัติย้อนหลังเมื่อแรกกำเนิดสายพันธุ์ที่ประมาณคริสศตวรรษที่ 14 ม้าโฮลสไตน์จะมีลักษณะเด่นคือ หนา สูงใหญ่ ลำตัวอ้วนกลม อกชันกว้าง (เหมาะสำหรับกระโดดข้าเครื่องกีดขวาง) หลังยาวเมื่อเทียบกับช่วงขา ช่วงขาสั้น คอสั้น กระดูกใหญ่ นิยมใช้เป็นม้ากระโดดและม้าลากรถ
ข้อเด่นของม้าตัวนี้คือ สามารถเลี้ยงได้ทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะและที่แห้ง
บางกระแสเชื่อกันว่าม้าโฮลสไต์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากพ่อม้าสาย นีอาโพลิตัน Neapolitan ในยุคศตวรรษที่ 16-17 หลังจากนั้นก็แพร่สายพันธุ์ไปทั่วยุโรป ล่วงเข้าศตวรรษที่ 19 เกิดกระแสนิยมม้าTB อย่างแรงจากอังกฤษ จนทำให้ม้าโฮลสไตน์คล้ายดั่งถูกลืมจากวงการม้า จวบจนถึงปัจจุบัน ก็เริ่มกลับมานิยมเจ้ายักษ์ใหญ่ตัวนี้อีกครั้ง
เอื้อเฟื้อภาพม้าพ่อพันธุ์ชื่อเจ้ามังกรทอง สูงประมาณ 17 แฮนด์ จากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่1 กรมการสัตว์ทหารบก 57 หมู่ 5 ตำบลเกาะสำโรง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น